|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ |
|
|
|
|
|
อยู่ในเขตอุทยานออบหลวง เขตติดต่ออำเภอจอมทอง กับอำเภอฮอด พบหลุมฝังศพมนุษย์สมัยสำริด อายุประมาณ ๑,๕๐๐ - ๕๐๐ ปี ก่อน ค.ศ. นับเป็นครั้งแรกที่พบหลักฐานเช่นนี้ในภาคเหนือของไทย การปั้นภาชนะดินเผามีร่องรอยการใช้แป้นหมุนอย่างช้าในการขึ้นรูป โดยเฉพาะส่วนฐานภาชนะคล้ายพาน พบกำไลเปลือกหอยทะเล และลูกปัดเปลือกหอย แสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับกลุ่มชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเล หลักฐานที่พบมีเครื่องมือหินกะเทาะ แกนหิน สะเก็ดหิน ขวานหินขัดไม่มีบ่า หอยเบี้ยเจาะรู ก้อนดินเทศสีแดงเข้ม โครงกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนภาชนะ เครื่องประดับสำริด กำไลเปลือกหอย เครื่องถ้วยสีน้ำเงิน-ขาวของจีน ภาชนะดินเผามีฐานคล้ายพาน ภาชนะก้นกลมและภาชนะแบบหม้อมีสีสันและคอสูง
ผาหมาย อยู่ที่บ้านแม่ลอง ตำบลหางดง อำเภอฮอด ลักษณะเป็นเพิงหินปูน อยู่ในเทือกเขาหินปูนดอยหมู่ติง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ตัวเพิง ยาวประมาณ ๙ เมตร สูงประมาณ ๖ เมตร บนผนังหินมีภาพเขียน ขนาดกว้าง ๕ เมตร แบ่งภาพออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มภาพขนาดใหญ่ จากบริเวณกลางผนังหินไปจนสุดผนังด้านขวา มีเทคนิคการเขียนแบบเงาทึบ เขียนด้วยสีแดง ดำ และขาว กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มภาพเล็ก ๆ เขียนแบบเงาทึบเขียนด้วยสีแดง ภาพที่เขียนที่ปรากฏเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพสัญลักษณ์ ภาพวัตถุสิ่งของ และภาพรังผึ้ง
ผาช้าง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นเพิงผาที่มีส่วนบนชะโงกยื่นออกมา กลุ่มภาพเขียนวางอยู่ในแนวตั้ง มีภาพคน ภาพสัตว์ ภาพสัญลักษณ์ ภาพลายเส้นหรือภาพวัตถุ และเครื่องมือหินกะเทาะ |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
ชั้น ๔ อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ๕๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๓๑๑ ๒๕๙๕ - ๖ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|