|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร |
|
|
|
|
|
ที่ตั้ง
หมู่ ๒ ตำบลตากแดดอำเภอเมืองชุมพรจังหวัดชุมพร
ประวัติความเป็นมา
เชื่อกันว่าตัวเมืองดั้งเดิมของเมืองชุมพร อยู่แถบวัดประเดิมฝั่งซ้ายของแม่น้ำชุมพรที่ตำบลตากแดดต่อมาจึงได้ย้ายเมืองไปตั้งใหม่ที่บ้านท่ายาง แล้วย้ายไปตั้งที่ตำบลท่าตะเภา นัยว่าเหตุที่ย้ายเมืองบ่อยเป็นเพราะอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำท่า ตะเภา และแม่น้ำชุมพรบ้างก็ว่าเพราะเป็นเมืองหน้าด่านอยู่ในสมรภูมิการรบเสมอ ๆ จึงไม่สร้างบ้านเมืองถาวรวัดประเดิม เล่ากันว่าเป็นวัดแรกในละแวกนี้ จึงได้ชื่อว่าวัดประเดิม เป็นวัดประจำเมืองชุมพรเก่า เชื่อกันว่าพระปรางค์องค์เดิม มีศิลปะแบบศรีวิชัย แต่ก็ไม่มีหลักฐานชัดเจนโบราณวัตถุในวัดแต่แรกเห็นจะมีมากต่อมาได้ชำรุดหักพังไปตามกาลเวลาและจากภัยสงครามเท่าที่เหลืออยู่จนทุกวันนี้ก็มีหลายอย่างซึ่งล้วนเป็นหลักฐานแสดงให้รู้ว่าเคยเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก แห่งหนึ่ง โบราณวัตถุที่ทางวัดเก็บรักษาไว้ อาทิใบเสมาหินทราย เศียรพระพุทธรูปหินทราย และเศียรพระพุทธรูปปูนปั้นเกือบ ๒๐ เศียรเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยารูปแบบศิลปกรรม
พระปรางค์สุทธาวาสธาราม (วัดประเดิม) ก่อนบูรณะยังมีผู้จดจำได้ว่า เดิมองค์ปรางค์์ตั้งอยู่ บนพื้นเรียบไม่ได้ยกพื้นสูงโดยรอบองค์พระปรางค์ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันทุกอย่างเป็นของที่เพิ่งสร้างใหม่ พระปรางค์ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรม เป็นปรางค์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำเป็นฐานบัวลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆรูปทรงสูงชลูดเรือนธาตุมีขนาดเล็กทรงสูงรับกับทุกส่วนขององค์ปรางค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานซ้อนกันขึ้นไปรอบพระปรางค์มีระเบียงคตล้อมรอบระหว่างระเบียงคตกับพระปรางค์์เป็นลานประทักษิณในบริเวณวัดมีเจดีย์รายขนาดเล็ก ๑ องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สภาพทรุดโทรมมีผู้เล่าว่าเดิมเจดีย์รายรอบวัดมีหลายองค์ แต่ปัจจุบันเหลือองค์เดียว รูปแบบศิลปกรรมเดิมของพระปรางค์องค์นี้ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นแบบใด แต่สันนิษฐานจากโบราณวัตถุ ได้แก่ เศียรพระพุทธรูปและใบเสมาเข้าใจว่าคงเป็นศาสนสถานที่สร้างมาแต่ครั้งกรุง ศรีอยุธยาแต่ปัจจุบันได้ถูกซ่อมแซมจนเปลี่ยนสภาพไปหมดแล้วส่วนอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นอาคารสถาปัตยกรรมท้องถิ่นก่อสร้างขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๓ – ๒๔๘๐ เป็นอาคารไม้แบบเรือนปั้นหยา ยอดจั่วชายคาตกแต่งไม้ฉลุและไม้กลึงลวดลายแบบพื้นเมือง อาคารนี้แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น ๓ ส่วน คือ แบ่งห้อง ๒ ห้อง โดยมีชานเป็นส่วนเชื่อมต่อระเบียงจะอยู่ลดระดับต่ำจากชานประมาณ ๓๐ เชนติเมตร ต่อมาได้มีการซ่อมแซมระเบียงด้วยการสร้างเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเสา คอนกรีตที่ยกพื้นทำให้อาคารนี้ี้เป็นเรือนใต้ถุนโปร่งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๓๔ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙
ความสำคัญและสภาพปัจจุบัน
สิ่งสำคัญภายในวัดสุทธาวาสธาราม (วัดประเดิม) ประกอบด้วย
๑. พระปรางค์
๒. เจดีย์ราย
๓. อาคารโรงเรียนปริยัติธรรม |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
สิงหาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
|
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|