|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี |
Lopburi Cultural Office |
|
|
|
|
|
|

ไทยพวน
ความเป็นมา
พวน ชาวพวน หรือไทยพวน เป็นกลุ่มชนที่มีอยู่กระจัดกระจายหลายจังหวัดในประเทศไทย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวพวนอยู่ที่เมืองพวน ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ ซึ่งชาวพวนที่อพยพมาแต่ละครั้งจะกระจายไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ราชบุรี สุโขทัย ฉะเชิงเทรา เป็นต้น สำหรับชาวพวนที่เข้าไปตั้งรกราก ในจังหวัดลพบุรีนั้น จะตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลบ้านเซ่า อำเภอสนามแจง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านหมี่ ชาวพวนในอำเภอบ้านหมี่นั้นอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยสมัยใดยากที่จะกำหนดให้แน่ชัดได้ แต่ชาวไทยพวนบ้านหมี่ที่สูงอายุบอกเล่าต่อกันมาถึงเหตุที่อพยพมาเพราะหนีพวกฮ่อ และพวกแกว และจากหลักฐานด้านวัตถุประกอบคำบอกเล่าดังกล่าว ทำให้ทราบว่าชาวไทยพวนอพยพเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า มากที่สุด และรองลงไปคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิถีชีวิตและภาษา
ชาวพวนมีนิสัย รักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม คือ ผู้ชายจะสานกระบุง ตะกร้า เครื่องมือหาปลา ส่วนผู้หญิงจะทอผ้า ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันคือ ผ้ามัดหมี่ลพบุรี
อาหาร ของชาวไทยพวนที่มีประจำทุกครัวเรือนคือ ปลาร้า เมื่อมีงานบุญมักนิยมทำขนมจีน และข้าวหลาม ส่วนอาหารอื่น ๆ จะเป็นอาหารง่าย ๆ ที่ประกอบจากพืชผัก ปลา ที่มีในท้องถิ่น เช่น ปลาส้ม ปลาส้มฟัก เป็นต้น ในด้านความเชื่อนั้น ชาวพวนมีความเชื่อเรื่องผี จะมีศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า ศาลตาปู่ หรือศาลเจ้าปู่บ้าน รวมทั้งการละเล่นในเทศกาลก็จะมีการเล่นผีนางด้ง ผีนางกวัก ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวพวนคือ ประเพณีใส่กระจาด ประเพณีกำฟ้า ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงการสักการะฟ้า เพื่อให้ผีฟ้า หรือเทวดาพอใจ เพื่อไม่ให้เกิดภัยพิบัติ
วัฒนธรรมด้านภาษา ชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ อักษร "ร " ในภาษาไทยกลาง จะเป็น "ฮ" ในภาษาพวน เช่น รัก - ฮัก หัวใจ - หัวเจอ ใคร - เผอ ไปไหน - ไปกะเลอ
ปัจจุบันชาวพวนในจังหวัดลพบุรียังคงสภาพความเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังมีความผูกพันกัน แน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และมีความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ทั้งยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธ์อย่างดีแต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวพวนเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เช่น ภาษาพูด คนหนุ่มสาวจะนิยมพูดภาษาไทยกลาง แม้จะอยู่ในหมู่เดียวกัน หรือประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แต่เดิมประเพณีใส่กระจาด ประเพณีเทศน์มหาชาติ จะจัดทำทุกปี และมีการทำอาหารเลี้ยงดู และใส่กระจาดกันทุกบ้านปัจจุบันจะไปใส่กระจาดกันที่วัดหากปีใดเศรษฐกิจไม่ดี ก็งดใส่กระจาด เป็นต้น และนิยมทำบุญด้วยเงินมากกว่าสิ่งของตามความนิยมของสังคมปัจจุบัน
|
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|