พระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุเข้าสู่ประเทศไทย
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
แล้วนั้น
พวกมัลลกษัตริย์ผู้ครองกรุงกุสินาราช่วยกันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
แล้วคิดสร้างสถูปเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ เมือง
กุสินารานั้น ข่าวนี้ทำให้ประชาชนในเมืองอื่น
ๆ มุ่งหวังที่จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานในเมืองของตนเอง ในที่สุดโทณพราหมณ์ได้เข้าเจรจาไกล่เกลี่ย จึงตกลงแบ่งพระธาตุออกเป็น 8 ส่วน เท่า ๆ กัน
แล้วแยกไปยังที่ต่าง ๆ 8 แห่ง คือ
1. แคว้นมคธ ขอพระเจ้าอชาตศัตรู
2.
กรุงกบิลพัสดุ์ แห่งศักยราช
3.
เมืองเวสารี ของกษัตริย์ลิจฉวี
4.
เมืองอัลกัปปะ ของกษัตริย์คุสิยะ
5.
เมืองเวฎฐทีกะ
6.
เมืองรามคาม
7.
เมืองปาวา
8.
เมืองกุสินารา ของมัลลกษัตริย์
เมื่อได้รับพระบรมธาตุไปแล้ว
ต่างเมืองต่างก็สร้างสถูปเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุจึงเกิดมีพระธาตุเจดีย์เป็นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแทนการทำศึกสงคราม
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สร้างพุทธเจดีย์สถาน
(สถูป)
2. การทำสังคายนาพระธรรมวินัย
3. การจัดส่งพระเถระออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ
ผลของการบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งมหาราชองค์นี้ ได้แผ่ขยายเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งที่เป็นวัตถุ
ธรรมและนามธรรม
นามธรรมได้แก่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ส่วนวัตถุธรรมได้แก่พระสถูปเจดีย์และพระบรมสารีริกธาตุ
สถูปเจดีย์ที่เป็นต้นแบบในปัจจุบันคือสถูปที่สาญจิ ซึ่งสร้างไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 5
โดยตัวสถูปทำเป็นรูปทรงกลม ลักษณะคล้ายขันน้ำหรือโอคว่ำ
ซึ่งสถูปแบบนี้พัฒนาเป็นสถูปในดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีไทยถือว่าเป็นศิลปะแบบทวารวดี เช่น
สถูปที่วัดไชยบาดาล สระบุรี เป็นต้น
พระสถูปสำริด ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ก็มีลักษณะรูปทรงร่วมสมัยกับสถูปทั้งสองแห่งดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นสถูปสำริดที่นาดูน
ถือเป็นสถูปที่พัฒนามาจากสถูปสาญจิของอินเดียและเป็นศิลปะร่วมสมัยกับสถูปทวารวดี ซึ่งถือว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
จัดทำโดย ธีรวีร์ จันทรโพธิ์ศรี นักศึกษาฝึกประสบการณ์
|