|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
|
|
|
|
|
ศิลปะการแสดง
|
|
|
|
|
|
|
โนรา (9 ก.ย. 2561) โนรา เป็นการร่ายรำตามแบบฉบับของชาวปักษ์ใต้ มีการขับร้องประกอบดนตรี อันได้แก่ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และแตระ ซึ่งเป็นต้นฉบับในการเล่นละครชาตรีมาแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้รู้บางคนกล่าวว่าการรำโนราน่าจะเป็นวัฒนธรรมของอินเดียมาแต่เดิม แล้วแพร่หลายเข้าสู่ชวา มลายู ในช่วงที่อาณาจักรศรีวิชัยกำลังรุ่งเรือง ถ้าพิจารณาดูท่ารำแม่บทของโนราชาตรี จะเห็นได้ว่าหลายท่าคล้ายกับ "ท่ากรณะ" ในคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์และคล้ายกันมากกับท่ารำในแผ่นศิลาจำหลักที่ บุโรพุธโธ ในเกาะชวาภาคกลาง นอกจากนั้นวิธีการเล่นของหุ่นละครชาตรี ยังคล้ายคลึงกับละครประเภทหนึ่งของอินเดีย ซึ่งเล่นอยู่ตามแคว้นเบงกอลในสมัยโบราณที่เรียกว่า "ยาตรา" ก็ได้ จากหลักฐานนี้พอจะยืนยันได้ว่า โนรา เป็นอารยธรรมของอินเดียภาคใต้ที่เข้ามาทางแหลมมลายูและภาคใต้ของไทย |
|
|
หนังตะลุง (9 ก.ย. 2561) หนังตะลุง เป็นละครชาวบ้าน น่าจะมีขึ้นไม่น้อยกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยการประสมประสานระหว่างการละเล่นหนังใหญ่กับหนังแบบชวา ประกอบกับวิถีพื้นบ้านภาคใต้ ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและพัฒนาขึ้นบริเวณภาคใต้ตอนกลาง คือ ละแวกเมืองพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา (อุดม หนูทอง.๒๕๓๙:๓ ) |
|
|
ลิเกป่า (9 ก.ย. 2561) ลิเกป่า อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น "ลิเกรำมะนา” หรือ "ลิเกบก” หรือ "แขกแดง” คำว่า "แขกแดง” ชาวภาคใต้หมายถึงแขกอาหรับ ถ้าใช้คำว่า "เทศ” จะหมายถึงคนอินเดีย เช่น เทศบังกาหลี(จากเบงกอล) เทศคุรา เทศขี้หนู (อินเดียใต้) ถ้าใช้คำว่า "แขก” หมายถึง แขกมลายและแขกชวา
มีผู้กล่าวว่า ลิเกป่าได้แบบอย่างมาจากการร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าของแขกเจ้าเซ็นที่เรียกว่า "ดิเกร์” ซึ่งเป็นภาษาเปอร์เซีย เพราะพวกเจ้าเซ็นมีเสียงไพเราะ เป็นที่นิยมฟังกันทั่วไป ต่อมา มีคนไทยหัดร้องเพลงดิเกร์ขึ้น ตอนแรกมีทำนองการใช้ถ้อยคำเหมือนกับเพลงสวด ต่อมาก็กลายเป็นแบบไทยและคำว่าดิเกร์ก็เปลี่ยนมาเป็นลิเกหรือยี่เก อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากเครื่องดนตรี รำมะนาที่ลิเกป่าใช้น่าจะได้แบบมาจากมลายู เพราะมลายูมีกลองชนิดหนึ่งเรียกว่า "ระบานา” ซึ่งมีสำเนียงคล้ายกับรำมะนาของไทย ดังกล่าวแล้ว ลิเกป่าคณะหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๒๐-๒๕ คน รวมทั้งลูกคู่ด้วย ตัวละครสำคัญๆ ก็มี แขกแดง ยาหยี เสนาและเจ้าเมือง ส่วนที่เหลือเป็นตัวประกอบ
|
|
|
เพลงบอก (8 เม.ย. 2561) เพลงบอก
ชื่อของเพลงบอกจะมาจากอะไรไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่เชื่อว่าเพราะเป็นเพลงที่ใช้ร้องบอกกล่าวให้ชาวบ้านทราบข่าวสารต่างๆ มักเล่นในวันสงกรานต์ งานประจำปี งานบวชนาค งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ และงานทำบุญต่างๆ บางครั้งมีการจัดประชันเพลงบอกด้วย
คณะเพลงบอก ประกอบด้วยแม่เพลง ๑ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ผู้ช่วยร้องรับร้องเสริมเรียกว่าลูกคู่ ๓ – ๔ คน เครื่องดนตรีมีฉิ่ง เพียงอย่างเดียว ตัวอย่าง เช่น
แม่เพลง... มาถึงปากประตูแล้วหยุดอยู่พร้อม
ลูกคู่... เอ้-วา-เห หยุดอยู่พร้อม
แม่เพลง... ถึงปากประตูแล้วหยุดอยู่พร้อม
ลูกคู่... ว่าทอยจ้า ช้า เหอ อยู่พร้อม
แม่เพลง... นอบน้อมหัตถังตั้งขึ้นเหนือเศียร
ลูกคู่... ตั้งขึ้นเหนือเศียร นอบน้อมหัตถังตั้งขึ้นเหนือเศียร
ฯลฯ
ที่มา : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพัทลุง
|
|
|
1 |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง และงานประสานขอพระราชทานเพลิง ตั้งอยู่ : ศาลากลางจังหวัดพัทลุง (หลังเก่า) ชั้น ๒
ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๔ ๖๑๗๙๕๘ โทรสาร ๐๗๔ ๖๑๗๙๕๙
กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ตั้งอยู่ : วัดภูผาภิมุข ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐
โทรศัพท์ ๐๗๔ ๖๑๕๓๔๘ โทรสาร ๐๗๔ ๖๑๐๙๐๙ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|