|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี |
|
|
|
|
|
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีอย่างหนึ่งในงานฌาปนกิจศพของพระสงฆ์ชาวรามัญแต่เดิมนั้นการเผาศพพระสงฆ์บนปราสาทที่ทำเป็นยอดเดียวหรือห้ายอด จุดไฟเผาด้วยลูกหนู
ต่อมาภายหลังกลายเป็นประเพณีการแข่งขันให้ลูกหนูวิ่งไปชนตัวปราสาท โลงศพจำลอง และป้ายบอกรางวัลต่าง ๆ แข่งกันหลายสายหลายคณะ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน ๔
เดือน ๕ ตัวลูกหนูนั้นทำด้วยไม่ไผ่หรือไม้มะม่วงกลึงเป็นท่อนบรรจุภายในด้วยดินปืน ผูกติดกับสายลวดสลิงยกสูงขึ้นแยกเป็นสายสู่ตัวปราสาท
การแข่งขันจะจัดกันในช่วงบ่ายในทุ่งนาโล่งแจ้ง การจัดทำตัวลูกหนูต้องใช้คนและค่าใช้จ่ายมากจึงต้องรับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดนั้น
ๆ ด้วย
ประเพณีแข่งลูกหนู
เป็นประเพณีการละเล่นอย่างหนึ่งตามปกติการแข่งขันลูกหนูจะกระทำในงานศพของพระสงฆ์ชาวรามัญ
แต่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง ซึ่งมีชาวมอญมาอยู่ในหมู่ที่ ๑๔–๑๕
ได้นำการแข่งขันลูกหนูมาเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีในช่วงสงกรานต์เพื่อให้งานสงกรานต์มีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
โดยจัดที่วัด เช่น วัดหัตถสารเกษตร,วัดปัญจฑายิกาวาส,วัดเกตุประภา ฯลฯ
อำเภอลำลูกกา มีการเชิญชวนให้มีการจัดลูกหนูเข้ามาแข่งขัน
ชาวบ้านจะช่วยกันทำลูกหนูเพื่อเตรียมไปแข่งขัน ลูกหนูที่นำมาแข่งขันนั้นจะต้องจัดแต่งภายนอกให้ดูสวยงามเพื่อประกวดกันด้วย
จะประดับประดาด้วยกระดาษสีต่างๆ
ครั้นถึงกำหนดแต่ละวัดจะจัดขบวนแห่ลูกหนูคล้ายขบวนพาเหรดของนักกีฬาการแต่งกายของคนในขบวนจะต้องเหมือนกัน
อาจจะจัดเป็นขบวนประเภทสวยงามหรือประเภทความคิด หรือประเภทตลกขบขันแล้วแต่จะจัดมา
ขบวนแห่ลูกหนูจะนำด้วยกลองยาวหรือแตรวง
และมีป้ายบอกชื่อหน่วยงานที่จัดมาและมีนางรำแต่งตัวสีฉูดฉาดเต้นรำตามจังหวะเพลงไปเรื่อยๆ
จนถึงบริเวณงานคณะกรรมการตัดสินก็จะให้คะแนนไปด้วย
ก่อนที่จะทำการแข่งขันจะต้องนำลูกหนูแห่รอบเมรุเวียนซ้ายเสียสามรอบก่อน
แล้วจึงแห่ออกไปยังสนามแข่งขัน เมื่อติดตั้งลูกหนูเข้ากับลวดสลิง
เพื่อเตรียมแข่งขันต่อไป วัดเจ้าภาพจะต้องจัดตั้งเมรุศพเผาศพหลอก
มีปราสาทยอดแหลมครอบเมรุศพไหว้กลางทุ่งนาที่จัดเป็นสนามแข่งขันให้สูงเด่นตระหง่าน
แล้วปักเสาขึงลวดสลิงให้ปลายลวดพุ่งไปยังปราสาทที่เมรุศพตั้งอยู่
ลวดสลิงที่จัดไว้นั้นจะต้องให้ครบตามจำนวนผู้ส่งลูกหนูเข้าแข่งขัน จับสลากเลือกสาย
แล้วนำลูกหนูเข้าประจำสายของตนโดยผูกลูกหนูติดกับสายลวดสลิงทุกสายแล้วจุดเรียงกันไปจนกว่าจะหมด
วิธีจุดลูกหนู
เขาใช้คบเพลิงจุดสายฉนวนตรงท้ายตัวของลูกหนูเมื่อไฟลามเข้าไปถึงดินปืน
ก็จะเกิดระเบิดขับดันตัวลูกหนูให้วิ่งไปข้างหน้าอย่างแรง
พอสุดลวดสลิงจะพุ่งเข้าชนปราสาททันที
แล้วกรรมการให้คะแนนไว้ของใครชนที่สำคัญก็จะได้คะแนนมากและได้รับรางวัล
ส่วนลูกหนูวัดใดแพ้ไม่ได้รางวัลเจ้าภาพก็จะมอบเงินพาหนะให้
แต่ในปัจจุบัน
มักจะนำมาแสดงให้ชมในเทศกาลสงกรานต์ |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
33/3 ถนนคลองวัดโส ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
โทร. 0-2593-4270, 0-2581-1237, 0-2593-4406 โทรสาร. 0-2593-4406
|
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|