|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง |
|
|
|
|
|
ประวัติวัดบ้านหงาว
วัดบ้านหงาว เริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยในปีนั้น มีพระธุดงค์ที่มีอายุพรรษามากรูปหนึ่ง ท่านธุดงค์มาจากจังหวัดปัตตานี มีชื่อว่า หลวงพ่อเขียด ไม่ทราบฉายาของท่าน มาปักกรดโปรดสัตว์อยู่ที่บริเวณสถานีอนามัยตำบลหงาวในปัจจุบัน เนื่องจากตำบลหงาวไม่มีวัดมาก่อน ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามาก เมื่อมีพระธุดงค์มาปักกรดโปรดสัตว์ จึงพากันไปนมัสการทำบุญฟังธรรมกันมาก
หลวงพ่อเขียดท่านมีปฏิปทาน่าเคารพเลื่อมในมาก โดยได้ให้ความเมตตาช่วยเหลือชาวบ้านในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดี ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษาที่บ้านหงาว โดยคุณแม่ลำไย สกุลสิงห์ คหบดีในตำบลหงาว อุทิศที่ดินจำนวน ๒ ไร่ สร้างเป็นที่พักสงฆ์ หลวงพ่อเขียด รับนิมนต์และย้ายไปปักกรดในที่ดินที่คุณแม่ลำไย อุทิศให้ คือบริเวณที่ตั้งวัดบ้านหงาวปัจจุบัน
หลวงพ่อเขียด ได้ขอบิณฑบาตกระดานโลงศพในส่วนที่เป็นฝาและท้องโลงศพที่ชาวบ้านนำศพไปเผาแล้วถอดออกเพื่อทำเป็นเชื้อไฟนำมาทำเป็นกุฏิของท่าน เนื่องจากการเผาศพในสมัยก่อนไม่มีเมรุเผาศพอย่างเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีการตายเกิดขึ้น ชาวบ้านจะนำไม้กระดานพื้นหนา ๆ มาทำเป็นโลงศพ เวลาเผาศพก็ทำเป็นเชิงตะกอน โดยนำไม้ฟืนมาวางเรียงซ้อน ๆ กันขึ้น แล้วนำโลงศพขึ้นวางบนเชิงตะกอน ก่อนเผาจะถอดเอากระดานท้องโลงออกและฝาโลงเพื่อใส่เครื่องหอมและทำให้ไฟติดดีและเร็ว พร้อมกับทำพิธีแบบโบราณ คือใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ พลิกศพให้คว่ำหน้าลง ใช้มือฟื้นทับหลังอีก 2 ท่อน ส่วนไม้กระดานท้องโลงและฝาโลงที่ถอดออกจะวางแนบไว้ข้างโลงเป็นเชื้อเพลิงต่อไป เมื่อชาวบ้านนิมนต์ท่านไปบังสุกุลศพเห็นว่าไม้กระดานฝาและท้องโลงนี้น่าจะใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้ ท่านก็ขอบิณฑบาตนำไปทำเป็นกุฏิของท่าน
เนื่องจากหลวงพ่อเขียดเป็นพระธุดงค์ ชอบความสงบ วิเวก เมื่อสร้างที่พักสงฆ์เสร็จแล้ว มีพระภิกษุสามเณรมาอยู่กันมาก คนเริ่มเข้าวัดมากขึ้น ท่านเห็นว่ามีพระอยู่กันหลายรูปแล้ว ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ท่านก็จาริกธุดงค์ไปที่อื่นต่อไป โดยไม่มีใครทราบว่าท่านธุดงค์ไปที่ไหนจนกระทั่งปัจจุบัน
ต่อมาที่พักสงฆ์บ้านหงาวได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสำนักสงฆ์สาขาวัดอุปนันทาราม มีพระครูสมุห์นิคม อรุโณ มาอยู่เป็นเจ้าสำนัก จึงมีการพัฒนาและก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น กุฏิพระสงฆ์ หอฉัน ศาลาการเปรียญ เป็นต้น เพื่อเตรียมการขอตั้งเป็นวัดให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมการศาสนา
การที่สำนักสงฆ์จะขอยกฐานะเป็นวัดได้นั้นจะต้องมีที่ดินอย่างน้อย ๖ ไร่ ขึ้นไป และมีกุฏิ เสนาสนะ สิ่งสาธารณูปโภคอย่างอื่น เช่น เมรุเผาศพ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ดร.แหลม พิชัยศรทัต ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่ของบริษัทไซมัสกินซินทีเกรด ทำธุรกิจเหมืองเรือขุดแร่อยู่ในตำบลหงาว และเป็นกำนันอยู่ในตำบลหงาวขณะนั้น ท่านได้ของบประมาณจากทางจังหวัดมาสร้างเมรุเผาศพ และขอบริจาคที่ดินจากผู้ที่มีที่ดินติดกับวัด จึงทำให้วัดบ้านหงาวมีที่ดินเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น ๒๒ ไร่ เศษ ดังปัจจุบัน
สำนักสงฆ์หงาวได้เปลี่ยนแปลงตัวเจ้าสำนักบ่อยครั้ง โดยมีเหตุผลจากหลายสาเหตุ ทำให้การพัฒนาวัดหยุดชะงักไม่ต่อเนื่อง และไม่มีรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม สิ่งก่อสร้างทีมีอยู่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปเรื่อย ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 จึงได้ยกฐานะจากสำนักสงฆ์ขึ้นเป็นวัด โดยใช้ชื่อว่า "วัดบ้านหงาว” มีพระอธิการน้อม จนฺทสโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก พระอธิการน้อม มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางคณะสงฆ์จังหวัดระนองจึงได้ส่งพระสมุห์โกศล กุสโล (อาจารย์ฉลวย กุสโล) มาเป็นเจ้าอาวาสแทน พระสมุห์โกศล กุสโล ท่านเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้วางแผนพัฒนาวัดบ้านหงาวอย่างต่อเนื่อง สร้างกุฏิ หอฉัน ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพขึ้นใหม่ รวมทั้งจัดตั้งแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขึ้นในเหมืองเก่า หาพันธุ์ปลามาปล่อย และตั้งชื่อขุมเหมืองแร่เก่านี้ว่า "วังมัจฉา” มีพันธุ์ปลาน้ำจืดที่หายาก เช่น ปลาบึก มาปล่อยลงวังมัจฉานี้ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระนองในปัจจุบัน
|
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
|
« |
มิถุนายน 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|