|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด |
|
|
|
|
|
ถ้ากล่าวถึงเรื่องมีด หลายๆประเทศมักมีมีดเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ชนชาวพื้นเมืองใช้สอยกันหรือนิยมใช้เป็นประจำ เช่น มีดกรูข่าที่ใช้ในประเทศอินเดียกริชของประเทศอินโดนีเซีย
หรือมีดตระกูลโบวีที่ใช้ในประเทศทางตะวันตก
สำหรับประเทศไทยมีดที่เป็นเอกลักษณ์คงหนีไม่พ้น มีดเหน็บ
อีเหน็บ หรือ
มีดปาดตาลที่ไม่มีของประเทศใดเหมือนเป็นเอกลักษณ์ที่ลงตัวและใช้ประโยชน์ได้สูงสุดในการพกพาหรือนำติดตัวไปต่างแดนหรือเข้าป่าการออกแบบรูปทรงมีดอาจจะแตกต่างกันบ้าง
ก็เป็นเพียงรูปลักษณ์ที่ช่างแต่ละคนจะสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปแต่ยังคงเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตัวมีดตีขึ้นจากเหล็กกล้าผ่านกระบวนการตีจนได้รูปมีดที่สวยงาม
ปลายแหลมต่ำลงเล็กน้อยตรงกลางของมีดป่องออกแล้วไปคอดกิ่วตรงด้าม
กั่นของมีดเรียวเล็กยาวพอประมาณเพื่อเป็นแกนต่อกับด้ามมีด มองโดยรวมก็สามารถ
บอกได้ถึงขุมพลังที่ซ้อนอยู่ภายในที่สามารถแล่
ฟัน แทง
รวมไว้ในมีดเหน็บเพียงเล่มเดียว ซึ่งต่างจากมีดของประเทศอื่นๆที่มีคุณสมบัติในการใช้งานเพียงหนึ่งหรือสองอย่างเท่านั้น
การชุบแข็งของช่างชาวบ้านสามารถชุบแข็งที่แกนกลางของมีดแต่ผิวมีความแข็งน้อย
ทำให้มีดมีความคงทนต่อการใช้งานหนัก เนื่องจากเหล็กในส่วนที่แข็งเปราะถูกหุ้มด้วยเหล็กที่อ่อนเหนียว
ในขณะเดียวกันก็สามารถลับคมง่าย
กล่าวได้ว่ามีดที่ผลิตจากเครื่องจักรสมัยใหม่ทำได้ยากทรงของมีดในแต่ละท้องถิ่นก็เรียกแตกต่างกันไปเช่นทรงปลาตะเพียน
ทรงกรีกุ้ง ทรงปลาหมอ ทรงปลากัด ฯลฯ ขึ้นอยู่กับชาวบ้านจะมีมุมมองรูปทรงของมีดให้เหมือนอะไรเพื่อสื่อความหมายระหว่างช่างตีมีดกับผู้ใช้งาน
ในปัจจุบันกระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์
ค่านิยมของความเป็นตะวันตกกำลังรุ่งเรือง ทำให้มีดเหน็บของไทยด้อยโอกาสในการใช้งานอีกทั้งช่างตีมีดในปัจจุบันเริ่มล้มหายตายจากไป
ช่างตีมีดที่เกิดขึ้นใหม่ก็มักลืมนึกถึงคุณค่าของความเป็นเอกลักษณ์ไทย
ทำให้มีดเหน็บที่มีออกสู่ท้องตลาดมีดมักเป็นมีดที่เน้นกำไรเพื่อความอยู่รอดในอาชีพ และมักขาดคุณภาพของความเป็นมีดที่ดี คือหุ่นสวยประณีต คมนาน ลับคมง่าย
คงทนในการใช้งาน
ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการลดต้นทุนในการผลิตหรือเกิดจากช่างขาดความรู้ในการชุบคมมีดทำให้มีดขาดความคม
หรือลับคมเท่าไหร่ก็คมไม่สนิท ใช้งานเพียงเล็กน้อยความคมก็หายไป เป็นปัญหาที่เกิดจากช่างไม่ได้ทำการชุบแข็งหรือชุบแข็งเพียงเล็กน้อยและอาจเกิดจากการใช้เหล็กที่มีคาร์บอนต่ำเนื่องจากมีราคาถูกบางเล่มลับคมยากบ่งบอกถึงความแข็งของมีดแต่ลับเท่าไหร่ก็ไม่คม
เกิดจากช่างขาดความเข้าใจในการชุบคมมีดทำให้มีดมีความแข็งเฉพาะผิว แกนกลางของมีดยังไม่ได้ผ่านการชุบแข็งลับเท่าไหร่ก็ไม่คม ใช้งานเล็กน้อยความคมก็หายไปต้องลับคมใหม่
สิ่งที่เกิดขึ้นคือความมักง่ายในการทำมีดของช่างสมัยใหม่ช่างมีดในปัจจุบันนี้เขาไม่ตีมีดกันแล้ว หากตีก็เพียงเล็กน้อย แล้วนำมาแต่งคมขึ้นรูปชุบอีกนิดหน่อย
ใส่ด้าม ขัดเงาลงน้ำมันเท่านั้น มีดที่ออกมาจึงเป็นมีดเหล็กแต่งคมแล้วชุบไม่ใช่มีดตีที่มีการตีให้เหล็กมีความแน่นตัว แกร่ง และ เหนียวขึ้นเนื่องจากการเรียงอณูของเหล็ก |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด (หลังเก่า ชั้น ๒ )
ถนนเทวาภิบาล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
โทร ๐๔๓ ๕๑๒๖๐๖ โทรสาร ๐๔๓ ๕๑๒๖๐๕ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|