|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว |
|
|
|
|
|
ชื่อการแสดง รำกลองยาวบ้านตากฟ้า
เป็นการแสดงเกี่ยวกับ การรำ/เต้น
หลังจากเสร็จการทำไร่ทำนา เรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านมักนัดกันมาพบปะสังสรรค์กันตามปกติ ครั้งแรกก็หาอุปกรณ์เท่าที่จะหาได้มาเคาะให้เป็นจังหวะ ร่วมร้องรำทำเพลง สนุกสนานตามประสาชาวบ้าน
ต่อมา ได้มี นายสามารถ อาจห้วยแก้ว ซึ่งเป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์ ได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านตากฟ้าแห่งนี้ และได้นำกลองยาวเข้ามาด้วย ๑ ลูก เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ในการร้องรำทำเพลง ทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้เกิดความคิดที่จะตั้งเป็นวงกลองยาวขึ้นมา โดยตกลงกันให้นายสามารถ อาจห้วยแก้ว เป็นผู้ฝึกสอนให้ในเวลาว่างหลังจากกลับจากการทำไร่ทำนา ต่อมาเมื่อรวมกันเล่นเป็นคณะได้แล้ว จึงมีผู้ว่าจ้างไปเล่นในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานบวช/งานแต่ง/งานขึ้นบ้านใหม่/งานสงกรานต์/งานกฐิน/งานผ้าป่า ฯลฯ
เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองยาว ๕ – ๑๐ ลูก ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก ฉิ่ง กรับ และได้นำพิณอิสาน แคนอิสาน เข้ามารวมด้วย เพื่อให้ได้เกิดความสนุกสนานมากขึ้น โดยมีผู้เล่นในคณะอย่างน้อย ๑๐ คนขึ้นไป(วงใหญ่) ถ้าเป็นวงเล็ก ประมาณ ๗ – ๘ คน
นายสามารถ อาจห้วยแก้ว ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะได้สืบสาน ถ่ายทอดศิลปะการรำกลองยาวให้แก่เด็ก และเยาวชน ทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน เสมอมา โดยไม่ได้คิดด่าใช้จ่ายแก่อย่างใด
สถานที่ติดต่อ นายสามารถ อาจห้วยแก้ว เลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๙๘๘๕ ๐๒๘๖ |
|
วิสัยทัศน์ |
"เป็นองค์การที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการงานศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมในพื้นที่
ภายใต้หลักธรรมาภิบาล” |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|