|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
ระบำศรีพฤทเธศวร เป็นระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการแสดงแสง เสียง มิ นิ ไลท์ แอนด์ ซาวด์ ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ คำว่า”ศรีพฤทเธศวร” เป็นชื่อเดิมของปราสาทสะกำแพงใหญ่แสดงครั้งแรกปี พ. ศ. 2545 ในรอบเปิดการแสดง มิ นิ ไลท์แอนด์ ซาวด์ ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวรโดยประดิษฐ์ท่ารำจากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก หน้าบัน ทับหลังจากโบราณสถานปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทหินพิมายและ ระบำโบราณคดีเลียนแบบการแต่งกายของนางอัปสราหรือนางอัปสรในสมัยขอมมาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรานางรำผู้มีเรือนร่างอ่อนช้อยท่วงทีสวยงาม รับกับเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประดับแสนสวย นางอัปสราหรือนางอัปสร ถือเป็นชาวสวรรค์จำพวกหนึ่ง มีเพศเป็นหญิง อาจเรียกว่า "นางฟ้า”ก็ได้ แต่หาใช่เทวดาไม่ นางมีฐานะเป็นอมนุษย์บังเกิดขึ้นเมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทร เพื่อนำเอาน้ำอมฤตขึ้นมาดังปรากฏในมหากาพย์มหาภารตะของอินเดีย คำว่า "อัปสร”ประกอบขึ้นจากคำว่า”อัป” ที่หมายถึงน้ำและ”สร”ที่หมายถึงการเคลื่อนไป อัปสรจึงหมายถึงผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ อันเป็นกำเนิดของนางอัปสรา ทว่าทั่วไปถือว่านางเป็นชาวสวรรค์ นางอัปสรมีอำนาจแปลงกายได้ ทั้งยังมีความสามารถในการขับร้องและเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง ในราชสำนักของพระอินทร์มีนางอัปสรอยู่ 26 ตน แต่ละตนมีความสามารถเชิงศิลปะต่างๆกัน และนี่นับเป็นที่มาของการแสดงการรำอันอ่อนช้อยงดงามของนางอัปสรา(SisaketMagazine,2009:1) โดยผนวกความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ของคนในท้องถิ่น
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของระบำศรีพฤทเธศวรคือเครื่องแต่งกายที่โดดเด่นถอดแบบจากภาพจำหลักมีดนตรีประกอบการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษมีท่ารำที่แสดงถึงการรำถวายตัวของนางอัปสราที่หลังจากเล่นน้ำแล้วนำเครื่องหอมมาเซ่นบวงสรวงบูชาเทพเจ้า แสดงถึงความเชื่อความศรัทธาในศักดานุภาพแห่งเทวาลัยอันศักดิ์สิทธิ์และเครื่องบูชาอันเป็นที่สิงสถิต ของเทพเจ้า ในเทวาลัยให้อำนวยความสุขสวัสดิ์ ให้แก่ชาวเมือง ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 แห่งวิศุวสงกรานต์(วันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะในเวลาเที่ยง มีเวลาเที่ยงวันและเที่ยงคืนเท่ากัน) ท่ารำระบำศรีพฤทเธศวร มีชื่อท่ารำจำนวน 10 ท่าดังนี้ ท่าที่1ท่าบวงสรวงหมายถึงการบูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องหอม ท่าที่2 ท่าไหว้บูชาเทพเจ้าหมายถึงแสดงความเคารพยกย่องเทิดทูนเทวดาผู้เป็นใหญ่ ท่าที่3 ท่าถวายเครื่องหอมหมายถึงนำเครื่องหอมมามอบให้ ท่าที่4 ท่าชมโฉมหมายถึงแสดงความสวยงามของรูปร่างให้เกิดความชื่นใจ ท่าที่5 ท่าอวดโฉมหมายถึงแสดงความสวยงามของการร่ายรำให้ปรากฏ ท่าที่6 ท่าเล่นน้ำหมายถึงประทินผิวร่างกายให้สะอาดหมดจด ท่าที่7 ท่าถวายตัวหมายถึงรำถวายตัวมอบให้ ท่าที่8 ท่าสักการะหมายถึงบูชาด้วยสิ่งเครื่องอันพึงบูชาเรียบร้อยแล้ว ท่าที่9 ท่าอำลาหมายถึงลาจากไป ท่าที่10 ท่าจบหมายถึงสิ้นสุดการทำความเคารพ
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
ความสำคัญ ระบำศรีพฤทเธศวรเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงความเชื่อของนางอัปสรา หรือ นางฟ้า ที่อยู่ในภาพสลักบริเวณปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย โดยเลียนแบบเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า และท่ารำ จากภาพสลักปราสาทสระกำแพงใหญ่ โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงประกอบการแสดง แสง สี เสียง ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษและงานต่างๆในทุกโอกาส |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
มิถุนายน 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|