|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
การขับร้องสรภัญญะเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยมีคุณพ่อข่าม ซึ่งท่านบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ท่านมาจำพรรษาที่วัดบ้านเจี่ย โดยมีพระอธิการทองสุขเป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อข่ามได้จัดหาเนื้อร้องทำนองพร้อมกับคนขับร้องโดยส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงสาวแรกรุ่นประมาณ ๔-๕ คน ต่อหนึ่งคณะปัจจุบันใช้ผู้ขับร้องประมาณ ๙-๑๐ คน การขับร้องเป็นกลุ่มนิยมขับร้องในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบการจัดงานทำบุญสังฆทาน การขับร้องนิยมขับร้องเป็นบทกลอนต่างๆเช่น กลอนบูชาดอกไม้วัตถุประสงค์เพื่อสักการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงการขับร้องนิยมนั่งกับพื้นเนื่องจากเป็นพื้นที่ศาลาวัด นอกจากจะมีการประกวดขับร้องจึงใช้เวทีเป็นการแสดงขับร้อง กลอนบูชาครูมีความหมายว่าบูชาครูบาอาจารย์ กลอนไหว้ครูเพื่อเป็นการแสดงความเคารพที่มีต่อครูบาอาจารย์ กอลนทั่วไป กลอนลาออกพรรษา กลอนการทำบุญ กลอนลา จะมีบทกลอนต่างๆซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
สรภัญญ์เป็นการสวดมนต์ในทำนองสังโยค คือ การสวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ บทสวดจะมีลักษณะเป็นฉันท์หรือกาพย์ก็ได้ แต่ที่นิยมกันมากคือกาพย์ยานีสำหรับเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับศาสนา บาปบุญคุณโทษ นิทานชาดก นอกจากนั้น ก็ยังมีการแต่งกลอนเน้นไปทางศิลปวัฒนธรรม เช่น กลอนถามข่าว โอภาปราศัย ชักชวนให้ไปเยี่ยม การลา หรือไม่ก็อาจจะเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นของอีสาน อาทิ เรื่องกล่องข้าวน้อย ฆ่าแม่ เป็นต้น บทสวดสรภัญญ์มักไม่เน้นในเรื่องความรักหรือการเกี้ยวพาราสีของคนทั่วไป เพราะการสวดสรภัญญ์นั้นเกี่ยวข้องกับทางศาสนาและผู้ฝึกสอนเป็นพระภิกษุ จึงไม่ให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักแต่อาจจะมีบางเรื่องเช่น ตอนนางยโสธราพิมพาอาลัยอาวรณ์เจ้าชายสิทธัตถะที่หนีออกบวชที่แสดงความรักสำหรับการสวดสรภัญญ์ในเมืองไทยนั้นมีการสวดมานานแล้ว ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่การสวดในยุคนั้นนิยมสวดเป็นภาษาบาลีและมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาโดยตรงไม่มีเรื่องแต่งใหม่เป็นคำไทยผู้ที่สวดจึงมักเป็นพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาที่อ่านภาษาบาลีได้คล่องแคล่วเมื่อการสวดสรภัญญ์ได้รับความนิยมมากขึ้นปราชญ์ทางพุทธศาสนาจึงได้แต่งคำสวดเป็นภาษาไทยให้อุบาสกอุบาสิกาและแม่ชีใช้สวดในวัด เช่น สวดทำวัตรเนื้อหาก็จะได้จากกระทู้ธรรมในพุทธศาสนสุภาษิตและธรรมบท
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
การสวดสรภัญญ์ นอกจากจะทำให้ผู้ที่สวดได้เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์แล้วในบทสวดยังเป็นบทกลอนที่เป็นประโยชน์ เช่น กลอนบูชาครู กลอนบูชาดอกไม้ กลอนศีล กลอนพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ กลอนบูชาคุณบิดร มารดา ซึ่งล้วนแต่บ่งบอกถึงการรู้คุณกตัญญูรู้จักการขออภัยให้อภัยรู้จักความดีความชั่วซึ่งเป็นยอดแห่งมนุษยจริยธรรมทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาวรรณคดีท้องถิ่นของภาคอีสานมาแต่งเป็นกลอน จึงทำให้ผู้ฟังได้รู้เรื่องนิทานพื้นบ้านต่างๆ ซึ่งเป็นนิทานที่มีคติสอนใจ จึงเป็นการสืบสานไม่ให้นิทานพื้นบ้านต้องสูญหายไปกับกาลเวลาในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งที่ชาวอีสานได้ร่วมใจกันสืบสานการสวดสรภัญญ์ให้คงอยู่ ด้วยการสวดในกิจกรรมวันธรรมสวนะและงานบุญต่างๆ รวมไปถึงได้จัดให้มีการประกวดสวดสรภัญญ์กันอยู่เสมอ มีการแข่งขันตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับภาค นอกจากนั้นแล้ว ยังได้ถ่ายทอดให้กับเยาวชนโดยการบรรจุอยู่ในเรียนการสอนวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นในโรงเรียนต่างๆ ของภาคอีสานอี |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
มิถุนายน 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|