|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
แคน” เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง "เต้าแคน” มีรูปร่างกระเปาะคล้ายเต้านมสตรี การเป่าแคนต้องใช้วิธี เป่าและดูด จึงจะสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ "แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่ในปัจจุบันไม้อ้อหายาก จึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อยซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแคว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้วเป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย แคน เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวอีสาน เป็นเอกลักษณ์คู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินอีสานตั้งแต่โบราณ เสียงแคนเป็นเสียงดนตรีที่มีความไพเราะ มีลายทำนองคึกคักเร่งเร้าสะท้อนถึงวิญญาณการต่อสู้ดิ้นรนของคนอีสาน นอกจากนี้เสียงแคนที่ขับขานยังมีลายทำนองสนุกสนาน หวานชื่นเป็นสื่อสายใยบ่งบอกถึงความรักระหว่างผู้คนบนผืนแผ่นดินเกิดเดียวกัน สมัยรัชกาลที่ 4 หมดลำแคนนิยมเล่นกันมาก อิทธิพลของหมดลำหมดแคนมีบทบาทความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น แคนมีบทบาทเด่นๆ อยู่สองประการ คือ - เป่าประสานเสียงหมดลำไม่ว่าจะเป็นหมอลำกลอน ลำหมู่ และลำเพลิน - เข้าไปมีบทบาทในวงดนตรีลูกทุ่งอีสาน
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
เอกลักษญ์การเป่่าแคน จะการพรรณาชีวิตของคนอีสาน ที่มีทั้งความรักและความผูกพัน ความห่วงใยหวนหา ความอดทนต่อสู้อย่างมีความหวัง และความเพลิดเพลิน บางท่วงทำนองบ่งบอกถึงความรัก และความผูกพันที่มีต่อความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ตลอดทั้งความรักที่มีต่อครอบครัว เครือญาติและผู้ที่รู้จักมักคุ้นที่อาศัยอยู่ด้วยกันในท้องถิ่นตนเองและใกล้เคียง บางท่วงทำนองบ่งบอกถึงความผูกพัน กับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านการประกอบอาชีพ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา จนสร้างสมให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวกันในสังคม บางท่วงทำนองบ่งบอกให้เห็นถึงความอดทนต่อสู้กับสิ่งต่างๆ ที่รุมเร้าเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตบางเรื่องก็หาวิธีแก้ไขได้บางเรื่องก็ต่อสู้ไปตามยถากรรมให้วันเวลาผ่านพ้นไป บางท่วงทำนองแสดงถึงการพลัดพรากจากกัน ทั้งที่จากไปแล้วไม่มีวันกลับ บางท่วงทำนองแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างบริสุทธิ์ เสียงแคนลายใหญ่ หรือ ลายอ่าน
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
การเป่าแคนมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนภาคอีสาน เพราะแคนเป็นดนตรีของภาคอีสาน คนอีสานเป็นคนชอบสนุกสนาน มีการร้องรอทำเพลงในงานบุญประเพณีต่าง ๆ ศิลปะการแสดง หมอลำ เป็นที่นิยมกันมากจะเป็นการเล่าเรื่องวิถีชีวิตของคนอีสาน ในความหลากหลายของวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน ให้ความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดของสังคม ให้ความรู้ให้แง่คิด ในการแสดงหมอลำแต่ละครั้งเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้เลยคือ แคนเป็นอุงค์ประกอบในการแสดงทุกครั้ง จึงเป็นภูมิปัญญาของชาวอีสานที่สืบทอดการมาทุกยุค ทุกสมัย
|
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
มิถุนายน 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|