|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
หมอลำ เป็นศิลปะการแสดงของพื้นถิ่น ที่บรรพบุรุษใช้ในการอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ขยันทำมาหากิน โดยการคิดสร้างสรรค์วิธีการเล่าให้น่าสนใจเพื่อให้ดึงดูดใจลูกหลานให้เข้ามารับฟัง และการแต่งคำกลอน และใช้ดนตรีมาบรรเลงประกอบเพื่อให้เกิดการเร้าใจ สนุกสนาน และพัฒนาเป็นการแสดงมีผู้แสดงบทบาทต่าง ๆ เป็นความฉลาดของบรรพบุรุษในการสร้างกลวิธีเพื่ออบรมสั่งสอนลูกหลาน นายพงษา หารไชย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในการขับร้องหมอลำ มีความสามารถร้อง ลำ แต่งกลอนลำ ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้หมอลำของตำบลหนองบัวดง เป็นรู้จักแพร่หลาย โดยชักชวนผู้ที่มีความสามารถในการร้อง การรำ หรือหมอลำเก่าในพื้นที่ตำบลหนองบัวดง มารวมตักวกันจัดตั้งเป็นคณะหมอลำพงษา นอกจากนี้ืยังมีการถ่ายทอดการร้องการรำให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น ทำให้มีอาชีพ มีรายได้จากการร้องลำ
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
หมอลำพงษา เป็นหมอลำที่มีความสามารถในการรำ ทั้งลำกลอน ลำเรื่อง ลำเพลิน ลำซิ่ง ในอดีตเคยเข้าร่วมกับหมอลำคณะใหญ่ของภาคอีสาน เมื่อมีครอบครัวจึงกลับมาอยู่บ้านและพยายามชักชวนชาวตำบลหนองบัวดงที่มีความสามารถด้านการร้องหมอลำมารวมกันตั้งเป็นคณะหมอลำ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดให้กับเด็ก เยาวชนในพื้นที่ที่มีความสนใจ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของวงด้วย การลำของคณะหมอลำพงษา มีทั้งการลำแบบดดั้งเดิมและลำประยุกต์ รับงานทั่วไปทั้งในเขตพื้นที่อำเภอศิลาลาด อำเภอใกล้เคียง เป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่มีการอนุรักษ์และสืบสานไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป นอกจากนี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวดง บูรณาการร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่จัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เปิดสอนศิลปะการร้องหมอลำให้กับนักเรียนในโรงเรียนบ้านหนองบัวดง โรงเรียนบ้านทัพส่วยหนองพอก ช่วยสืบสานภูมิปัญญาวัฒนธรรมด้านนี้ให้ดำรงอยู่สืบไป
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
หมอลำ เป็นอีกศิลปะการแสดงอีกแขนงหนึ่งที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ ทั้งในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน การสร้างความรื่นเริง หรือแม้แต่เป็นคติสอนใจ สอนธรรมะได้อีกด้วย หมอลำเป็นศิลปะที่อยู่คู่กับคนอีสานมาช้านาน เป็นศิลปะที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนผ่านการร้อง การลำ เป็นอีกศิลปะการแสดงแขนงหนึ่งที่มีการสืบสานในพื้นที่ ปลูกจิตสำนึกรักษ์ในวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสานได้เป็นอย่างดี สมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรมทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่นเรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่า จึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็นพระเอกนางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น
|
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
มิถุนายน 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|