|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
เดิมทีสมัยโบราณในภาคอิสานเวลาค่ำเสร็จจากการกิจธุรการงาน มักจะจับกลุ่มพูดคุยกันกับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบ และผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทาน ที่นำมาเล่าน้้น เกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรก นั่งเล่า เม่ื่อลูกหลานมาฟังกันมาก จะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่นต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี ผู้เล่าจำเป็นต้องยกไม้ยกมือ แสดงท่าทาง ใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงต่ำ สูง ประกอบและหาเครื่องดินตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุก คึกครื้น ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมันจึงจำเป็นต้องหาผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ จากการมีหมอลำชายเดียงคนเดียวค่อย ๆ พัฒนาต่อจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวัด เพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละคร ในเรื่องครบถ้วน กลายมาเป็นหมอลำในปัจจุบัน
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
ลักษณะที่โดดเด่นของหมอลำ คือ เป็นการลำเป็นเรื่องราว ใช้ผู็แสดงมาก เช่น ตัวพระเอก นางเอง ตัวโกงหรือตัวร้าย ตัวตลก นักเต้น นักร้อง นักดนตรี มีฉากที่สวยงาม มีการรวมวงที่ค่อนข้างใหญ่ มีรูปแบบการแสดงเป็นแบบลำเรื่องต่อกลอน
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนนอกจากการทำไร่ทำนาตามฤดูกาลแล้ว ส่วนใหญ่จะมีการไปทำงานเพื่อหารายได้เสริมที่กรุงเทพฯ มีครูมาจากจังหวัดอุบลฯ มาสอนหมอลำ คุณพ่อแสง พรมสุข จึงได้ได้จับกลุ่มเพื่อน ๆ ไปเรียนลำเพื่อประกอบอาชีพเสริม ผู้ที่แสดงหมอลำหมู่นี้จะมีความภาคภูมิใจที่สามารถทำให้คนดูมีความสุข คนดูจะติดตามดูหมอลำไปตามที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดแสดง เพราะเรื่องราวที่นำมาแสดงเป็นเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตของชาวอิสาน ผู้แสดงมีความภาคภูมิใจท่ีมีผู้ชื่นชอบในการแสดงของตน |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|