|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ที่ตั้ง บ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ระยะทาง เดินทางตามถนนราดยางออกจากปรางค์กู่-สำโรงทาบ ระยะทาง ๕ กิโลเมตร
สภาพทั่วไป
ที่ตั้งของปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่เนินสูงยอดสุดห้วยวะ ซึ่งไหลผ่านบ้านตูม ผ่านบ้านกล้วยกว้าง
อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ไหลลงสู่ห้วยสำราญ ที่ตำบลทุ่งไชย
ปรางค์กู่ประกอบด้วยปรางค์ ๓ หลัง ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนว
ทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางและองค์ที่อยู่ทางทิศใต้ ก่อด้วยอิฐขัดเรียบ
มีทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำจากศิลาทราย แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏทับหลัง ส่วนเสากรอบ
ประตูก่อด้วยอิฐ ติดผนังมีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ส่วนด้านอื่นเป็นประตูหลอก
อิฐทั้งสององค์มีการสลักลวดลายตกแต่งลงบนเนื้ออิฐ เช่น ซุ้มหน้าบันสลักเป็นซุ้มโค้งหยักมียอดแหลม
ช่วงปลาย สลักเป็นรูปเศียรนาค ปรางค์ที่อยู่ทางทิศเหนือก่อด้วยศิลาแลงจากฐานถึงซุ้มหน้าบัน
แล้วก่อด้วยอิฐจนถึงส่วนยอดมีประตูทางเข้าทิศตะวันออกเช่นเดียวกันส่วนบารายหรือสระน้ำ
ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออกของปรางค์กู่
อายุของปราสาท ปราสาทปรางค์กู่ ศิลปะขอมแบบนครวัด สร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗
|
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|