|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
ที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณที่สาธารณะประโยชน์ป่าช้าดงใหญ่ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
ของหมู่บ้านหว้าน ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ระยะทาง สามารถเดินทางจากตัวอำเภอราษีไศล ไปตามเส้นทางราษีไศล-อำเภอมหาชนะชัย
ประมาณ ๕ กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าไปอีก ๓ กิโลเมตร ก็จะถึงแหล่งโบราณคดี บ้านหว้าน
โบราณสถานที่ขุดพบอยู่ในที่สาธารณประโยชน์ ป่าช้าดงใหญ่ ห่างจากหมู่บ้านไปทางด้าน
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๕๐๐ เมตร
ประวัติความเป็นมา จากโบราณวัตถุที่พบสันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้คงเป็น
ชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
มีการนับถือ ศาสนาพุทธ โดยประดิษฐ์ใบเสมาขึ้น เพื่อใช้ประกอบสังฆกรรม มีการ
สร้างสิ่งก่อสร้างที่น่าจะเป็นศาสนสถาน และมีการสร้างคูน้ำคันดิน เพื่อใช้กักเก็บน้ำ
ในการอุปโภคบริโภคของชุมชน
สภาพทั่วไป มีลักษณะเป็นเนินดินรูปร่างค่อนข้างกลม มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ๒ ชั้น
โดยก่อคันดินล้อมรอบคูน้ำด้านนอก ลักษณะเช่นนี้เชื่อว่าคงสร้างคูน้ำขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลัก
ในการกักเก็บน้ำ ตัวแหล่งโบราณคดีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๖๐ เมตร
สภาพปัจจุบัน
คูน้ำและคันดินบางส่วนเปลี่ยนสภาพกลายเป็นพื้นที่นา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดเมืองคง ซึ่งเป็น
วัดฝ่ายมหานิกาย รวมทั้งรูปปั้นของพญากตะศิลา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองผู้นำชาวเยอ มีการบวงสรวงกัน
ทุกวันเพ็ญเดือนสาม
หลักฐานที่พบ
ซากโบราณสถานซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลาย เนื่องจากการถูกลักลอบขุดหาวัตถุโบราณ
เหลือสภาพเพียงเศษอิฐกระจายอยู่ทั่วไป กลุ่มใบเสมาหินทรายบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้
ของตัวแหล่ง เศษภาชนะดินเผาทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อแกร่ง |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|