|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
|
|
|
ประเพณีท้องถิ่น
|
|
|
ประเพณีสงกรานต์อำเภอหนองหญ้าไซ (23 มี.ค. 2563) สถานที่จัดงานสงกรานต์อำเภอหนองหญ้าไซ
อำเภอหนองหญ้าไซ ได้กำหนดการจัดงานประเพณีสงกรานต์ของอำเภอในวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปี โดยใช้วัดหนองหลวงเป็นสถานที่จัดงาน และจัดกิจกรรมตามลำดับ ดังนี้
- หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล
ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนทุกตำบล มาพร้อมกัน ณ ที่ว่าการอำเภอหนองหญ้าไซ
- รดน้ำขอพรจากท่านนายอำเภอหนองหญ้าไซ
- ขบวนแห่สงกรานต์ของแต่ละตำบลไปวัดหนองหลวง
- การประกวดเทพีสงกรานต์ของแต่ละตำบล
- การประกวดขบวนแห่สงกรานต์ของแต่ละตำบล
- ประกาศผลการประกวดเทพีสงกรานต์และขบวนแห่สงกรานต์ของแต่ละตำบล
- มอบรางวัลการประกวด
- สรงน้ำพระ
- รดน้ำผู้สูงอายุ |
|
|
ประเพณีการแข่งขันเรือยาว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (18 มี.ค. 2563) ประเพณีการแข่งขันเรือยาว มีมาแต่ครั้งโบราณ มักจัดแข่งขันกันในวัดที่ทอดกฐิน ทอดผ้าป่าหรืองานประเพณีของวัดที่อยู่ริมแม่น้ำ จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดในภาคกลาง ที่มีชื่อในการแข่งขันเรือยาวอีกจังหวัดหนึ่ง โดยเฉพาะวัดในเขตอำเภอบางปลาม้าจะมีเรือยาวมากที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี ประชาชนและวัดที่อยู่สองฝั่งริมแม่น้ำท่าจีน จะมีประเพณีการแข่งขันเรือยาวที่สืบทอดกันมายาวนานนับว่าเป็นประเพณีที่ดีงามน่ารักษาไว้อย่างยิ่ง ประชาชนชาวอำเภอบางปลาม้า ได้ร่วมกันจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อสืบทอดประเพณีและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไปและยังแสดงถึงพลังสมัครสมานสามัคคีของชาวอำเภอบางปลาม้า และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ แม่น้ำท่าจีน หน้าวัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ ๑ เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา
เรือยาวที่เข้าร่วมแข่งขันเป็นเรือยาวที่ชนะการแข่งขัน เรือยาวทั่วประเทศมาแล้ว เข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะจัดการแข่งขันในสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ณ ลำน้ำท่าจีน หน้าวัดสวนหงส์ หมู่ที่ ๘ ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
|
|
|
พิธีทำบุญไหว้จุฬามณีเจดีย์ ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี (18 มี.ค. 2563) พิธีทำบุญไหว้จุฬามณีเจดีย์ ของชาวกะเหรี่ยง ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นประเพณี และวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามบรรพบุรุษโดยสืบทอดกันมายาวนาน เริ่มพิธีตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี ในปีนี้ก็จะตรงกับวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐ ผู้ผูกแขนด้ายเหลืองตามหมู่บ้านต่าง ๆ จะรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในพิธีทุกครั้งไป นับเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงให้คงอยู่
ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่นับถือพุธ จึงมีประเพณีตามพุทธศาสนาที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานคือ ประเพณีไว้เจดีย์ และงานบุญข้าวใหม่ เป็นประเพณีสำคัญของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่รวมชาวกะเหรี่ยงแถบภาคตะวันตกไว้มากที่สุด วันขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ผู้ทำพิธีคือ เจ้าวัด ซึ่งเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้านที่ได้รับการยอมรับนับถือจากชาวบ้าน และแต่งตั้งจากชาวบ้าน เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษถือเป็นวันรวมญาติของชาวกะเหรี่ยงและเป็นวันที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีที่แสดงต่อบุพการี
เจดีย์ของกะเหรี่ยง ไม่ใช่เจดีย์ทองคำ หรืออิฐหรือปูน ที่ก่อสร้างอย่างวิจิตรใหญ่โต หากเป็นเจดีย์ทรายที่สร้างอย่างเรียบง่ายอยู่ภายในรั้วไม้ที่ล้อมรอบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เจดีย์ทรายมีทั้งหมด ๕ องค์ เป็นเจดีย์ มุม ๔ มุม รวม ๔ องค์ ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าที่ถือประสูติกาลมาแล้วในภัทรกัลป์นี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคตรมะ หรือพระสัมมนาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ส่วนเจดีย์องค์กลางซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอีก ๔ องค์ แทนพระศรีอาริยเมตไตรยหรือพระศรีอาริย์ ซึ่งจะประสูติเพื่อเกื้อกูลหมู่สัตว์ในกาลต่อไป เจดีย์เหล่านี้คือ สถานที่ที่ชาวกะเหรี่ยงเคารพบูชาสูงสุดเพราะเป็นสัญลักษณ์แทนความดีความงามและอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนา นอกเจดีย์ออกมามี “เสาหละ” หรือหลักบ้าน ซึ่งมีเทวดาประจำหมู่บ้านพร้อมแขนไม้ยื่นออกไปทั้งสี่ทิศซึ่งหมายถึงท้าวจตุโลกบาล
ประเพณีไหว้จุฬามณีเจดีย์ จะมีประเพณีผูกข้อมือด้วย การผูกข้อมือโดยเจ้าวัด ด้ายที่ผูกข้อมือย้อมจากเมล็ดต้นคำแสดมีสีเหลืองส้ม เวลาเย็นหญิงชายชาวกะเหรี่ยงจะนำ “สะเดอร์” ลักษณะคล้ายฉัตรที่ทำจากไม้ไผ่สานขัดกันนำไปบูชาเจดีย์พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน และนำน้ำที่ผสมขมิ้นไปพรมรอบพระเจดีย์ ผู้นำในการทำพิธี คือ เจ้าวัด ซึ่งเรียกในภาษากะเหรี่ยงว่า “โบวคู้” หมายถึง ผู้นำในการทำบุญเจ้าวัด ต้องเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านความเชื่อและพิธีกรรม ดำรงวิถีอย่างสมถะ สันโดษ ประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดกว่าชาวบ้านธรรมดา เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด ไม่กินเนื้อสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ไม่ว่าใครฆ่าเอามาให้ก็ตาม และวันพระจะไม่กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด การเป็นเจ้าวัดถือเป็นการบวชอย่างหนึ่งไม่มีการสึกจะเป็นไปจนตาย
|
|
|
ประเพณียกธงสงกรานต์ ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี (18 มี.ค. 2563) ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เกือบ ๘๐ % เป็นชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ที่มีภาษา วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างออกไป ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ประเพณียกธง ที่ยังยึดถือและสืบต่อปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันทุกปี โดยจัดขึ้นในวันที่ ๑๙ เดือนเมษายนของทุกปี บริเวณลานวัดบ่อกรุ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช หลังงานเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์นั้น บรรดาบุตรหลานที่ออกไปทำงานและศึกษาหรือแยกไปอยู่ที่อื่น จะเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดและรดน้ำดำหัวบรรพบุรุษและหรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง จะมีความผูกพันทางเครือญาติสูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลที่มีการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์และการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยประเพณียกธงฯ นั้น เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น |
|
|
ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (18 มี.ค. 2563) งานประเพณีตักบาตรกลางน้ำ ที่แม่น้ำท่าจีนหน้าวัดป่าพฤกษ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ ประมาณ 100 กว่าปี อันเป็นประเพณีที่งดงามและมีคุณค่าอย่างยิ่ง เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านแหลมใช้แม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมและการดำรงชีวิตจากวิถีชีวิตของ ชาวแม่น้ำ ที่พระสงฆ์ จะใช้เรือพายออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้านริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นประจำ เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ก็จะนิมนต์พระรับบิณฑบาตรพร้อมกันในช่วงเวลารุ่งอรุณประมาณตีหาครึ่งถึงหกโมงเช้า ของวันแรม 12 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี |
|
|
ประเพณีตักบาตรเทโววัดเขาดีสลัก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (16 มี.ค. 2563) ประเพณีตักบาตรเทโววัดเขาดีสลัก ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำ นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ แล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ |
|
|
งานทิ้งกระจาด จังหวัดสุพรรณบุรี (16 มี.ค. 2563) งานทิ้งกระจาด เป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมาก ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงตัวเมือง หรือต่างอำเภอ ทราบว่าได้มีการจัดงานทิ้งกระจาดขึ้นมาแล้วราว ๆ ๑๓๐ ปี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์ และตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓ รัตนโกสินทร์ศก (รศ. ๙๙ ปี) ปีมะโรง สถานที่จัดงานในสมัยแรก ๆ จัดที่ตลาดใหม่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ในอดีต |
|
|
|
ประเพณีแห่แม่พระทางสายน้ำ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (16 มี.ค. 2563) หมู่บ้านคริสตังอำเภอสองพี่น้องเกิดจากครอบครัวญวณหลายครอบครัว อพยพมาจากสามเสนมาทำมาหากินเป็นชาวประมงและชาวนา ตั้งแต่ปี 1850 และค.ศ. 1895 ได้มีสร้างวัดแม่พระประจักษ์แห่งนี้ขึ้น ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยญวนที่ห่างหายไปจากลำคลองแห่งนี้ กว่า 20 ปี องค์การบริหารส่วนตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กำหนดจัดงาน ประเพณีแห่แม่พระทางสายน้ำในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ณ วัดแม่พระประจักษ์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
เพื่อสืบสานฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวบ้านไทยญวนที่อาศัยอยู่ตำบลต้นตาล ชาวบ้านไทยญวณจะร่วมแรงร่วมใจกันอัญเชิญองค์แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมลลงเรือที่ตกแต่งด้วยดอกไม้สีสันต่างๆ อย่างสวยงาม ขบวนเรือแห่แม่พระจะล่องไปตามลำคลองสองพี่น้องให้ประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์ได้สวดภาวนาขอพรและขอบคุณแม่พระที่ได้ประธานทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่เรา พี่น้องไทยญวณจะจัดโต๊ะบูชาแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมลแบบเรียบง่ายตรงชานบ้านที่ติดริมคลองสองฟากฝั่งบนเส้นทางที่ขบวนเรือแห่แม่พระผ่านไป พร้อมกับรับพรจาก บาทหลวง นักบวช ที่สวดภาวนาให้พรตลอดเส้นทาง |
|
|
ประเพณีเดินเจว็ด ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (16 มี.ค. 2563) ระเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดมายาวนานกว่า 300 ปี ที่จัดขึ้นในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
ทั้งนี้ จะมีคู่แต่งงานทั้งเก่าและใหม่ เดินทางมากราบไหว้ขอพรศาลพ่อปู่ ต้นแค แม่พระนาง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่คู่แต่งงานให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าไปอยู่ที่ไหนก็จะพบแต่ความสุขสมหวังในชีวิตคู่ ดาวน์โหลด 0 ครั้ง |
|
|
1 |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๖๐๔๕, ๐-๓๕๕๓-๖๐๕๘, ๐-๓๕๕๓-๖๐๕๙
โทรสาร ๐-๓๕๕๓-๖๐๔๕ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|