|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
|
|
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
|
ผ้าทอลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี (18 มี.ค. 2563) ผ้าทอลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน คือ ผ้าทอลายโบราณบ้านพุน้ำร้อน อันเกิดจากการรังสรรค์ของช่างทอผ้าที่ได้อาศัยองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนของชาติพันธุ์ลาวครั่ง โดยแสดงให้เห็นถึง อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน ผ้าซิ่นของลาวครั่งมักต่อตีนซิ่นด้วยฝ้ายหรือไหม ตีนซิ่นทอเป็นพื้นสีแดง ซึ่งในปัจจุบันครูผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญามีอายุมากขึ้น และเสียชีวิตไป ลูกหลานที่ได้รับการสสืบทอดมีน้อย ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญหายของมรดกภูมิปัญญาทางด้านการทอผ้า ดังนั้น พระครูวิสิฐสุวรรณคุณ (หลวงพ่อเสน่ห์) เจ้าอาวาสวัดพุน้ำร้อนจึงคิดที่จะฟื้นฟูผ้าทอลายโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านพุน้ำร้อนมากกว่า ๑๐๐ ปี ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยการแกะลายจากผ้าทอของบรรพบุรุษร่วมกับคนในชุมชนจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าเพื่ออนุรักษ์และชุบชีวิตผ้าทอลายโบราณของชาติพันธุ์ลาวครั่งบ้านพุน้ำร้อน ด้วยวิธีการ “นำลายเก่ามาทำขึ้นใหม่” ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวการดำเนินชีวิตของคนบ้านพุน้ำร้อนในอดีตโดยผ่านลวดลายบนผืนผ้า |
|
|
ผ้ามัดหมี่ ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี (18 มี.ค. 2563) ผ้ามัดหมี่ ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการทอผ้ามัดหมี่ที่ส่วนใหญ่จะทอกันในชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง โดยเฉพาะการแต่งกายที่โดดเด่น นิยมทอผ้าทั้งผ้าไหมและฝ้าย ย้อมด้วยสีแดง ซึ่งเป็นสีธรรมชาติจากครั่ง จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง สำหรับการแต่งกายผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่น ต่อซิ่นด้วยผ้าทอลายจกมีการตัดเย็บผ้าด้วยมือทอไว้ใช้ในครัวเรือนเป็นผ้าซิ่นตีนแดง สมัยก่อนใช้นุ่งห่มในชีวิตประจำวันทุกครัวเรือน แต่ปัจจุบันนิยมการแต่งกายในงานประเพณีหรืองานที่แสดงออกถึงการรวมกลุ่มกัน ซึ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะหรือการรับแขกคนสำคัญของท้องถิ่น
ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าที่มีการแสดงออกถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของชุมชนไทยเชื้อสายลาวครั่ง โดยใช้เส้นใยฝ้าย เส้นใยไหม และเส้นใยประดิษฐ์ หรือเส้นใยสังเคราะห์ นำมาย้อมสีที่ได้จากธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์ มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสีเพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ จากนั้นนำไปทอโดยใช้กี่ที่ในการทอผ้า กี่ที่ชาวบ้านลาวครั่งใช้ในการทอผ้า เป็นกี่ที่ใช้การยกตะกอด้วยระบบลูกรอก เป็นกี่พื้นบ้านขนาดเล็กที่ส่งกระสวยพุ่งด้วยมือ โดยใช้ด้ายยืนเป็นฝ้ายส่วนด้ายพุ่งจะใช้เส้นไหม เพื่อความคงตัวของผ้า ลักษณะลวดลายบนผืนผ้าที่มีการคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำอันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะของการทอผ้ามัดหมี่ ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายที่เกิดจากจินตนาการตามสภาพแวดล้อม เช่น ดอกไม้ สัตว์ เครื่องมือการเกษตร
ผู้ให้ข้อมูล นางสาวพเยาว์ จันทร ลงวันที่ ๑๘ / มี.ค. / ๒๕๖๓
กลุ่มทอผ้าลาวครั่งบ่อกรุ ชื่อ-สกุล นางจารุรินทร์ ศรีวันนา มือถือ ๐๘๑-๗๔๓-๕๑๒๒
|
|
|
ภาษาไทยพวน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (17 มี.ค. 2563) ภาษาพวน เป็น ภาษาไทยดั้งเดิม สืบทอดมาจากยูนานเชียงแสน ราวพันกว่าปีมาแล้ว ชาวไทยพวน คือชนชาติไท ที่อพยพมาจากเมืองเชียงขวาง ตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาสู่แผ่นดินไทยนานกว่าสองศตวรรษ กระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย รวมยี่สิบห้าจังหวัด ได้ใช้ภาษาพวนพูดสื่อสารกันตลอดมา ภาษาพวน มีบทบาทที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งในด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยาวัฒนธรรมตลอดจนความเจริญในด้านต่าง ๆ คนไทยพวน ในจังหวัดสุพรรณบุรีอพยพมาจากประเทศลาวราวสองร้อยปี ยัง ใช้ภาษาพวน สืบทอดมาประเพณีและวัฒนธรรม มาจนถึงปัจจุบันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือ ถ่ายทอดและอนุรักษ์ไว้ ภาษาของชนทุกชาติ รวมทั้งภาษาพวน ก็ย่อมมีบทบาทสำคัญเช่นนี้เหมือนกันทั้งสิ้น คนไทยพวนอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ติดต่อพูดจากันแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยพูดภาษาเดียวกัน คือ ภาษาพวน นอกจากนี้ ภาษาพวน ยังเกี่ยวข้องกับประเพณี ไทยพวน ตั้งแต่เกิดจนตาย โดยมีพิธีกรรมต่างกรรมต่างวาระกันไป |
|
|
1 |
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
ปฏิทินกิจกรรม
|
« |
พฤษภาคม 2565 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๖๐๔๕, ๐-๓๕๕๓-๖๐๕๘, ๐-๓๕๕๓-๖๐๕๙
โทรสาร ๐-๓๕๕๓-๖๐๔๕ |
|
สายด่วนวัฒนธรรม |
 |
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|